dpbp live #2 ตอน “ของญี่ปุ่น-ของไทย”

February 6th, 2010

ร่วมรับฟังการเสวนาอย่างมีสาระ แบบ “ดีไซน์ไป บ่นไป” กับผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับงานออกแบบของญี่ปุ่น

  • รศ.บุญสนอง รัตนสุนทรากุล คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ผศ.ดร.ชัยยศ อิษฏ์วรพันธุ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิตสาขาการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • คุณสันติ ลอรัชวี นักออกแบบกราฟิกจาก Practical Studio และอาจารย์พิเศษ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 17:00 น. ณ แกรนด์ ฮอลล์ สยาม ดิสคัฟเวอรี่ เซนเตอร์

กิจกรรมนี้ เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ “เรียงชีวิต ร้อยดีไซน์” เรียนรู้ชีวิตชาวญี่ปุ่น จากวันวานและวันนี้ (Japanese Design Today 100) 27 ม.ค. – 6 ก.พ. 2552

สนับสนุนโดย อาซาฮี ซูเปอร์ ดราย

ผลงานออกแบบของตัวเองที่ชอบที่สุดในชีวิต

January 24th, 2010

ในการทำงานสอนของผม ผมจะเริ่มเทอมใหม่ด้วยการทำความรู้จักนักศึกษาในฐานะนักออกแบบ นั่นคือให้ทุกคนนำผลงานของตัวเองที่ชื่นชอบที่สุดมาเล่าให้ฟัง การทำความรู้จักกันด้วยวิธีนี้เป็นประโยชน์กับตัวผู้สอนอย่างมากในการจับประเด็นความสนใจและทักษะของนักศึกษา เพื่อจะได้ชี้แนะและผลักดันแต่ละคนไปได้ถูกทาง

แน่นอนว่าตัวอาจารย์ผู้สอนเองก็ต้องเปิดใจ เล่าเรื่องงานของตัวเองให้ฟังด้วย และทุกครั้ง ผมจะเลือกงานชิ้นนี้ขึ้นมาเล่าให้นักศึกษาฟัง ซึ่งมันไม่ใช่งานที่ทำให้ลูกค้ารายใหญ่ที่ไหน ไม่ใช่งานที่ใครใครก็เคยรู้จัก เป็นงานที่ไม่ได้ทำขึ้นมาในฐานะนักออกแบบด้วยซ้ำ แต่เป็นงานที่ทำขึ้นตอนยังเป็นนักเรียนม.ปลาย มันคือปกของ “สาธิตานุสรณ์” หนังสือรุ่นของโรงเรียนมัธยมสาธิต มศว. ประสานมิตร

Read the rest of this entry »

Olympus E-P1 : ชัยชนะของหัวใจเหนือสมอง

December 23rd, 2009

อย่างที่เรารู้กันว่าสมองซีกซ้ายเป็นส่วนที่ควบคุมร่างกายซีกขวา และความคิดเรื่องตรรกะและเหตุผล ส่วนสมองซีกขวาควบคุมร่างกายซีกซ้ายและเรื่องของอารมณ์ แต่ไม่รู้ว่าหัวใจมาอ้างสิทธิ์การครอบครองการใช้อารมณ์เมื่อไหร่เหมือนกัน เราเลยมักจะได้ยินการเปรียบเทียบการใช้เหตุผลต่อสู้กับอารมณ์ว่าเป็นเรื่องของสมองกับหัวใจ หรือว่าภาพสมองสองซีกทะเลาะกันมันดูไม่โสภาและไม่น่าจะมีใครชนะก็ไม่รู้สิ?

ตัวผมเป็นคนถนัดซ้ายที่ถูกบังคับมาแต่เด็กให้เขียนหนังสือมือขวาจนเกิดเป็นความถนัดสองมือแบบเอียงซ้าย และเป็นคนทำงานสายศิลปะที่มีระเบียบวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ ความแตกต่างที่ดูเหมือนจะขัดแย้งนี้ทำให้การตัดสินใจหลายครั้งในชีวิตของผมเป็นผลลัพธ์จากการปะทะกันระหว่างสมองกับหัวใจอย่างรุนแรงโดยผลัดกันเป็นฝ่ายชนะ

ต่อไปนี้คือเรื่องราวเกี่ยวกับชัยชนะของหัวใจครั้งหนึ่งที่ผมอยากจะบันทึกไว้

Read the rest of this entry »

คนขับแท็กซี่อายุ 82 ปี

December 23rd, 2009

slogan

ไม่ได้เขียนอะไรบนนี้มานานมาก เพราะภาระหน้าที่ส่วนตัวหลายอย่าง แต่เรื่องที่สำคัญที่สุดคืออาการป่วยของคุณพ่อที่ทำให้ต้องเข้าออกโรงพยาบาลอยู่ได้เดือนกว่าแล้ว ในระหว่างนี้ก็ได้พบกับผู้คนหลากหลาย และได้เรียนรู้บางแง่มุมเกี่ยวกับชีวิตคนแบบที่ไม่เคยคิดมาก่อน ซึ่งอาจจะทะยอยมาเล่าให้ฟังบนนี้บ้างในภายหลัง

เริ่มเรื่องแรกกันดีกว่า…

วันหนึ่ง ผมต้องเดินทางออกจากโรงพยาบาลไปทำธุระที่อื่นโดยแท็กซี่ แวบแรกที่กระโดดขึ้นรถแล้วหันไปบอกคนขับถึงที่หมาย ผมสะดุดตากับใบหน้าที่เต็มไปด้วยรอยยับย่นของคุณคนขับ เขาดูแก่เกินกว่าที่จะมาขับแท็กซี่ แต่สิ่งที่ทำให้ผมแปลกใจยิ่งกว่าคือเสียงดังฟังชัดอันสดใสของเขาที่พูดถามมาก่อนที่ผมจะได้เอ่ยปากว่า “จะไปไหนครับท่าน?” ผมอมยิ้มเพราะไม่มีใครเรียกผมว่าท่านมาก่อน

หลังจากออกรถ บทสนทนาของเราเริ่มขึ้น

ลุง : “ท่านมาเข้าโรงพยาบาลนี่ป่วยเป็นอะไรหรือครับ”

ผม : “ผมไม่ได้ป่วยหรอกครับ แต่คุณพ่อผมเข้าโรงพยาบาลมาได้เดือนนึงแล้ว”

คุณลุง (หรือถ้าจะให้ถูก อาจต้องเรียกว่าคุณปู่) คนขับแท็กซี่คนนี้ดูกระฉับกระเฉงและอารมณ์ดีมาก ผมอดไม่ได้ที่จะถาม

ผม : “ขอโทษนะครับ ลุงอายุเท่าไหร่แล้วครับ”

ลุง : “แปดสิบสองปีแล้วครับ”

Read the rest of this entry »

Jonathan Ive at Design Museum

October 13th, 2009

DSC_0781

บันทึกจากการบรรยายของ Jonathan Ive ที่ Design Museum, London ในวันที่ 24 ตุลาคม 2004 ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร art4d ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน เนื่องจากเมื่อไม่นานนี้ได้รับการติดต่อขอสัมภาษณ์เรื่องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของ Apple จึงนึกถึงบทความนี้ขึ้นมา และขอนำมาเผยแพร่ที่นี่อีกครั้ง

แต่ไหนแต่ไรมา การศึกษาสอนให้ผมรู้จักศิลปินหรือนักออกแบบจากตัวผลงานเท่านั้น ถ้าไม่นับวงการแฟชั่นที่นักออกแบบต้องเดินคู่กับนางแบบบนเวทีเมื่อจบโชว์ทุกครั้งแล้ว โอกาสที่จะเห็นหน้าตานักออกแบบในสาขาอื่นๆ นั้นน้อยมาก แต่พักหลังๆ นี้ เหล่านักออกแบบเริ่มจะปรากฏตัวตามสื่อมากขึ้นๆ ตอนนี้ลูกค้า BMW เริ่มจำหน้า Chris Bangle ได้ คนซื้ออัลบั้มเพลงอาจแอบเห็นภาพ Peter Saville วางมาดเท่ได้ไม่แพ้ rock star เจ้าของอัลบั้ม นิตยสารบางเล่มเอารูปนักออกแบบขึ้นหน้าปกชัดเจนกว่าผลงาน จะบอกว่าสถานภาพของนักออกแบบในดวงใจคนบางกลุ่มเริ่มใกล้เคียงดาราก็ว่าได้

Read the rest of this entry »

ขอบคุณสำหรับความเชื่อมั่น

October 12th, 2009

20091007_MNP_123 - Version 2

การสนทนาสดครั้งแรกของ “design ไป บ่นไป” ในชื่อตอนว่า “เชื่อมั่นประเทศไทย กับนักออกแบบกราฟิก” เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ได้ผ่านพ้นไปอย่างน่าประทับใจ ชมภาพจากงานวันนั้นได้ ตามลิงค์นี้

ตอนที่ได้ทราบจากพี่ติ๊ก (สันติ ลอรัชวี) ว่าจะมีพื้นที่สนทนาสดให้  “design ไป บ่นไป” เมื่อหลายเดือนก่อน ในวันที่นิทรรศการ “ฉันเป็นนักออกแบบกราฟิกไทย” ยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง ก็รู้สึกตื่นเต้น ดีใจไปตามประสา เพราะที่ผ่านมาก็ทำรายการมาด้วยความสนุกและความสุข ไม่เคยมีความกดดันอะไรเลย แต่ยิ่งใกล้วันงานยิ่งคิดหนัก เนื้อหาจะเป็นอย่างไร? จะมีคนมาฟังไหม? ถึงขนาดที่ต้องถามตัวเองว่า “เอาจริงเหรอวะ?” เป็นครั้งแรก พอมาถึงบริเวณจัดงานแล้วยิ่งใจระทึก สี่โมงก็แล้ว สี่โมงครึ่งก็แล้ว ยังมีคนมาเพียงบางตา ใครได้เห็นสภาพผุดลุกผุดนั่งเหลียวซ้ายแลขวาอย่างลุกลี้ลุกลนของผมในวันนั้นคงจะเข้าใจ มาเบาใจได้ก็ตอนที่ก้าวขึ้นเวทีแล้วมองลงไปยังผู้ชมที่มากันเต็มทุกที่นั่ง แถมด้วยผู้ชมที่ยืนอยู่วงนอกอีกพอสมควร

Read the rest of this entry »

Graphic design = . . .

October 11th, 2009

pecha kucha bkk 6เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2552 มีโอกาสได้ไปร่วม “ปล่อยของ” ในงาน Pehca Kucha Night Bangkok ครั้งที่ 6 ที่สยาม ดิสคัฟเวอรี่ เซนเตอร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ “ฉันเป็นนักออกแบบกราฟิกไทย” จึงขอนำสไลด์ของตัวเองมาแบ่งปันให้ดูและบันทึกเนื้อหาไว้ที่นี่

โจทย์คราวนี้บังคับมาว่า “graphic design = . . .” ผมได้นั่งถกกับน้องๆ ที่ทำงานด้วยกัน ถึงปรัชญาในการทำงานของแต่ละคน เรียบเรียงออกมาเป็นประเด็นหลักสามข้อที่เราเห็นพ้องกันว่าควรจะเป็นสิ่งที่ยึดถือร่วมกันในการทำงานของ conscious สตูดิโอของเรา แล้วนำมาวิเคราะห์พร้อมทั้งยกตัวอย่างจากกรณีศึกษา ดังนี้ Read the rest of this entry »

เมื่อผมได้พบกับนักออกแบบระดับโลก

September 25th, 2009

มีเรื่องแปลกมาเล่าให้ฟังครับ โดยเฉพาะคนที่ทำงานสายออกแบบ เผื่อจะมีคนเจอแบบผม

เมื่อคืน ผมไปซื้อหนังสือกราฟิกที่ร้านคิโนคุนิยะ พารากอน ขณะจ่ายเงิน ก็บอกชื่อบริษัท และตัวสะกดให้พนง.ออกบิล ตอนนั้นมีคุณพี่คนหนึ่งที่มาซื้อหนังสือแล้วรอบิลอยู่ข้างๆ เข้ามาคุยกับผม ขอดูหนังสือที่ผมซื้อด้วยนิดหน่อย แล้วบทสนทนาก็เริ่มขึ้น… ขอเรียกชื่อย่อของเขาว่านาย J แล้วกันนะครับ

Read the rest of this entry »

“design ไป บ่นไป” Design Pod เลือดไทยแท้ เพื่อสังคมนักออกแบบ

September 16th, 2009

tcdcconnect-header

ไม่อยากเชื่อ… มีรูปตัวเองในหัวอีเมล์จดหมายข่าวจาก TCDCconnect ฉบับเดือนกันยาน คู่กับคุณวันฉัตรแห่งเว็บ pantip!?

เหตุเพราะจดหมายข่าวฉบับนี้เป็นการรวบรวมบทความเกี่ยวกับ new media นั่นเอง – ขอเชิญอ่านบทสัมภาษณ์ตัวผม ในฐานะผู้ดำเนินรายการพอดคาสท์เรื่องการออกแบบ “design ไป บ่นไป” ได้ ที่ลิงค์นี้

การเล่นหมาก กับการบริหารองค์กร

September 14th, 2009

วันก่อนได้นั่งคุยกับเพื่อนกลุ่มหนึ่ง คุยไปคุยมาวนเวียนมาเรื่องการบริหารองค์กรได้อย่างไรไม่รู้ จากนั้นก็เริ่มเกิดการเปรียบเทียบกับการเล่นหมากชนิดต่างๆ เห็นว่าเป็นเรื่องน่าคิด จึงนำมาสรุปได้คร่าวๆ ดังนี้

  • ผู้บริหารเป็นผู้เล่นเกมหมาก โดยมีลูกน้องในองค์กรเป็นตัวหมาก
  • ผู้บริหารที่เน้นพระคุณ ก็เปรียบเหมือนเล่นหมากล้อม รักษาตัว เน้นจำนวน
  • ผู้บริหารที่เน้นพระเดช ก็เปรียบเหมือนเล่นหมากรุก โหดร้ายกว่า เพื่อชัยชนะของส่วนรวม
  • เรื่องที่ควรคำนึง คือ ในหมากล้อม ทุกตัวหมากไม่มีความแตกต่าง ส่วนหมากรุก แต่ละตัวมีความสามารถแตกต่างกัน คอยส่งเสริมกัน
  • บางธุรกิจเหมาะจะใช้วิธีแบบหมากล้อม บางธุรกิจเหมาะจะใช้หมากรุก
  • ผู้บริหารขององค์กรขนาดใหญ่ ที่ไม่รู้จักบุคลากรของตัวเองดีนัก มองแต่ภาพรวม มีแนวโน้มจะใช้วิธีของหมากล้อมโดยปริยาย
  • ส่วนองค์กรขนาดเล็ก ที่เข้าใจความสามารถของบุคลากรแต่ละคนอย่างดี มีแนวโน้มจะใช้วิธีของหมากรุกได้อย่างเหมาะสม
  • จะว่าไป หมากรุกก็เหมือนกับการบริหาร – Put the right man on the right job.
  • หมากรุกนั้นโหดร้าย บางตัวต้องยอมตาย บางตัวต้องยอมอยู่เฉย ทั้งหมดนี้เพื่อชัยชนะของส่วนรวม

โดยส่วนตัว ผมไม่ใช่คนที่ลึกซึ้งอะไรมากมาย เคยพยายามเล่นหมากรุกก็ไม่รุ่ง หมากล้อมก็ไม่เคยแตะ จะให้ตัดสินว่าระหว่างหมากรุกกับหมากล้อม อย่างไหนดีกว่ากัน, อย่างไหนสนุกกว่ากัน, อย่างไหนยากกว่ากัน คงตอบไม่ได้ แต่ถ้าถามว่าผมอยากใช้หมากไหน ขอเลือก “หมากฮอส” แล้วกัน ก็คือ จะช่วยผลักดันสมาชิกร่วมทีมให้ถึงที่สุดอย่างเท่าเทียมกัน เมื่อถึงจุดหมายที่เขาพัฒนาตนเองได้สำเร็จ มีศักยภาพมากขึ้นแล้ว ก็จงกลับมาเป็นกำลังสำคัญของทีมต่อไป